บทที่ 2


บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ

2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ
          ผู้ใช้โครงการแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ
1.      นักเรียน
          Preparatory and Secondary Students (เด็กโต) ตั้งแต่ Year 1-13 จำนวนประมาณ 450-550 คน 1 ชั้น จะมีนักเรียนประมาณ 550÷13 = 42 คน แยกเป็น 2 ห้องต่อ Year ตกห้องละ 21 คน ทั้งหมด 26 ห้อง
          Pre-Preparatory Students (เด็กเล็ก) 3 ชั้น จำนวนประมาณ 90-100 คน  1 ชั้นจะมีนักเรียนประมาณ 100÷3 = 33 คน แยกเป็น 2 ห้องต่อชั้น ตกห้องละ 16-17 คน ทั้งหมด 6 ห้อง เพราะฉะนั้น มีห้องเรียนทั้งหมด 26+6 = 32 ห้อง
2.      เจ้าหน้าที่
          ครู ครูประจำชั้น 2 คน ต่อ 1 ห้องเรียน  ทั้งหมด 32x2 = 64 คน ครูสอนวิชาอื่นๆ ประมาณ 50% ของครูประจำชั้น ซึ่งจะเท่ากับ 64÷2 = 32 คน เพราะฉะนั้น ครูทั้งหมดประมาณ 64+32 = 96 คน
          พนักงาน แยกได้ประมาณ 5 ฝ่ายได้แก่ 1. ฝ่ายอำนวยการ 2. ฝ่ายธุรการ 3. ฝ่ายการเงิน 4. ฝ่ายโสตฯ 5. ฝ่ายบริการ เฉลี่ยแล้วมีฝ่ายละ 5-6 คน จะเท่ากับ ประมาณ 25-30 คน
2.1.2 กิจกรรม
ตารางกิจกรรมของนักเรียน
ตารางที่ 2.1 แสดงกิจกรรมของนักเรียน แบ่งตามช่วงเวลา
ตารางกิจกรรมของครู
ตารางที่ 2.2 แสดงกิจกรรมของครู แบ่งตามช่วงเวลา
ตารางกิจกรรมของผู้ปกครอง
ตารางที่ 2.3 แสดงกิจกรรมของผู้ปกครอง แบ่งตามช่วงเวลา
ตารางกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร
ตารางที่ 2.4 แสดงกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร แบ่งตามช่วงเวลา
ตารางกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ
ตารางที่ 2.5 แสดงกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ แบ่งตามช่วงเวลา

2.2 ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ
2.2.1 ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม
1. ด้านเศรษฐกิจ และการเงิน
          ราคาที่ดิน : ราคาที่ดินจะอยู่ในช่วง 30,000-40,000 บาท ต่อตารางวา ใช้ที่ดินประมาณ 12-15 ไร่ ราคาจะอยู่ประมาณ 140-240 ล้านบาท
          สภาพการตลาด และส่วนแบ่ง : จะมีการแบ่งผลกำไร โดยจะมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และรายเล็ก
2.2.2 ด้านเทคนิค
     การใช้ที่ดิน มีการปรับหน้าดินไว้บ้างแล้ว ช่วยลดค่าก่อสร้างในเรื่องการปรับหน้าดินได้มากพอสมควร
     สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ มีพร้อมทุกอย่าง เนื่องจาก เป็นแหล่งที่มีความเจริญ
          ความสะดวกในการเข้าถึง ติดถนนสายหลัก
            การคมนาคม และสภาพการสัญจร เน้นทางรถยนต์เป็นหลัก มีทางด่วนอยู่กระจายตามย่านที่เลือก มีรถไฟฟ้าผ่าน แต่ไม่ใกล้มากนัก ต้องนั่งรถแท็กซี่ต่อ
2.2.3 ด้านสังคม และวัฒนธรรม
          ความปลอดภัย จ้างทีมรักษาความปลอดภัยจากบริษัทมาตรฐาน มีการควบคุมคนเข้าออกอาคารอย่างเข้มงวด
            ความเหมาะสมของประเภทอาคาร เนื่องจากในพื้นที่ๆเลือกนั้น เป็นเขตที่กำลังพัฒนาของกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการขยับขยายในเรื่องของธุรกิจ และอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก แต่ยังมีโรงเรียนนานาชาติอยู่น้อย และความต้องการก็ยังมีอยู่


2.2.4 ด้านสภาวะแวดล้อม
          สภาพโดยรอบบริเวณ มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ส่วนที่อยู่ใกล้ทางด่วนจะเป็นตึกรามบ้านช่อง มีความเป็นเมือง แต่ถ้าห่างออกไป สภาพแวดล้อมจะดูเป็นชนบทมากขึ้น ปลอดโปร่งมากขึ้น
            ทิวทัศน์ สำหรับโรงเรียน เรื่องทิวทัศน์ไม่ได้เป็นเรื่องที่มีปัญหามากนัก เนื่องจากไม่ได้เป็นโครงการที่จำเป็นจะต้องเสพทิวทัศน์
            การมองเห็นที่ตั้ง และการเชื้อเชิญ มีความเชื้อเชิญของตัวอาคารบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกคนเข้ามาที่โครงการได้ และ Space ที่คนผ่านไปผ่านมาเห็น อาจจะเป็นสิ่งที่สามารถเรียกคนเข้าโครงการก็เป็นไปได้
                ความสำคัญของโครงการที่เกี่ยวข้อง ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ใกล้กันมาก เพราะควรจะกระจายไปตามแหล่งพักอาศัยมากกว่า

2.2.5 ด้านแนวโน้มโครงการ
          การขยายตัวของโครงการ ถ้ามีที่ดินผืนใหญ่ก็สามารถขยายโครงการได้
            แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
            แนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากระบบขนส่ง มีแนวโน้มสูงมาก เพราะเป็นย่านที่กำลังพัฒนา และน่าจะมีระบบขนส่งที่ดีในอนาคต

2.2.6 จินตภาพ
จินตภาพภายนอก
          รูปร่าง และรูปทรงอาคาร มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น เพื่อความสะดวกของการสัญจร เป็นอาคารที่ดูไม่น่าเบื่อ มีคุณภาพของที่ว่างที่ดี
            รูปแบบ ทันสมัย มีความโดดเด่น ใช้กำแพงกระจกผืนใหญ่ เพิ่มความทันสมัย
          สัดส่วนจังหวะ และลำดับ มีการแยกอาคารออกจากกัน แต่ว่าเชื่อมกันด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
          การเปิดมุมมองเข้าตัวอาคาร มีมุมที่สามารถดึงดูดคนเข้าโครงการได้
จินตภาพภายใน
          ลักษณะคุณภาพของที่ว่าง มีคุณภาพของที่ว่างที่ดี ส่งเสริมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
            จังหวะ หรือลำดับ ให้ความรู้สึกที่สบายๆ ไม่อึดอัด เหมาะแก่การศึกษา และการทำกิจกรรมแบบโรงเรียนนานาชาติ

2.3 ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์
2.3.1 แหล่งที่มาของเงินทุน

แหล่งที่มาของเงินทุน จะต้องกู้จากธนาคาร และมีสัญญาผ่อนระยะยาว เพื่อที่จะนำเงินทั้งหมด มาลงทุนกับโครงการ อาจจะมีเงินบางส่วนที่มีผู้ลงทุนจ่ายให้ เพื่อลดจำนวนเงินที่จะต้องกู้กับทางธนาคาร
ภาพที่ 2.1 แสดงสัญลักษณ์ของตัวอย่างบริษัทที่เป็นแหล่งเงินทุน
2.3.2 งบประมาณของโครงการ
          ค่าก่อสร้าง จากค่าก่อสร้างมาตรฐานของอาคารใดๆก็ตาม ราคา 16,000 ต่อตารางเมตร พื้นที่โครงการทั้งหมด ประมาณ 10,000 ตารางเมตร จะมีค่าก่อสร้าง 16,000x10,000 = 160 ล้านบาท รวมกับค่าที่ดินประมาณ 240ล้านบาท จะเท่ากับ 400 ล้านบาท
            ค่าใช้จ่ายหลังเปิดใช้โครงการ ประกอบด้วย ค่าบำรุง-ดูแลรักษา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเงินเดือนครู เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

2.4 ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
            ศึกษาข้อมูลต่างๆที่เป็นพื้นฐานระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และเทคนิคการก่อสร้าง เพื่อทราบถึงโครงสร้างงานระบบของโครงการ และสามารถเลือกใช้วิเคราะห์รวมถึงกำหนดแนวความคิดได้อย่างถูกต้อง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. ระบบประกอบอาคาร (Building System) 2. เทคโนโลยีพิเศษ(Specific Technology) โครงสร้างชนิดพิเศษ (Special Structure)




2.4.1 ระบบประกอบอาคาร (BUILDING SYSTEM)
ศึกษาข้อมูลต่างๆที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการกำหนดชนิดประเภท ความสามารถ ความจุ ประสิทธิภาพ และอื่นๆของระบบประกอบอาคารที่เหมาะสมกับโครงการ ซึ่งในแต่ละระบบก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามรูปแบบของการใช้งาน ระบบที่ปรากฏอยู่ในโครงการทั่วไปในปัจจุบัน คือ 1. ระบบไฟฟ้ากำลัง       2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 3. ระบบไฟฟ้าสำรอง 4. ระบบประปา 5.ระบบบำบัดน้ำเสีย 6. ระบบป้องกันอัคคีภัย และ 7. ระบบสื่อสาร
ระบบพิเศษ (Special Technology)
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และมีความจำเป็นต่อโครงการ โดยรายละเอียดของระบบต่างๆที่ศึกษานั้น มีดังนี้
ระบบ Access Control เป็นระบบที่ควบคุมการเข้า หรือ ออก อัตโนมัติ โดยใช้บัตรเป็นอุปกรณ์สำหรับเข้าผ่าน โดยที่เครื่องควบคุมจะประกอบด้วย ส่วน 2 ส่วน หลักคือ ส่วนควบคุม (Controller) การทำงาน และส่วนของ หัวอ่านบัตร (Reader) โดยเครื่องควบคุมจะอ่านข้อมูลในบัตรหากข้อมูลถูกต้อง ก็จะส่งคำสั่งให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวล็อค ให้คลายหรือปลดล็อค และเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่นตัวดักจับกันงัด ตัวดักจับควันไฟ ดักจับความร้อน ดักจับการเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ เปิด-ปิด ไฟฟ้าแสงสว่างให้ทำงานต่อไปและหากข้อมูลบัตร ไม่ถูกต้อง อุปกรณ์ต่างๆก็ไม่ทำงานจึงไม่สามารถเข้าผ่านได้ 


ภาพที่ 2.2 แสดงระบบประกอบอาคาร ประเภทระบบรักษาความปลอดภัย
2.4.2 ระบบต่างๆในห้องประชุม
กระดานอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เทคโนโลยี Electronicmanetic ทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ มาพร้อมด้วยซอร์ฟแวร์ Utility ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ จัดเก็บไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ JPEG, PDF, HTML เป็นต้น เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทาง USB



ภาพที่ 2.3 แสดงลักษณะของกระดานอิเล็กทรอนิกส์
ไมโครโฟน BOSCH CCS การบันทึกและการเล่น MP3 ในตัวพร้อมกับมีจอแสดงผลแบบภาพกราฟิกCU มีเครื่องบันทึกเสียงในตัวเพื่อบันทึกเสียงการประชุมแบบดิจิตอลลงใน SD การ์ด จอแสดงผลแบบภาพกราฟิกแสดงสถานะของเครื่องบันทึกเสียง และสามารถใช้ปุ่มเสริมเพื่อตั้งค่าเครื่องบันทึกเสียงได้ ในฐานะตัวเลือกเสริม การบันทึกเสียงจะทำงานต่อเมื่อไมโครโฟนเปิดทำงานเท่านั้นสามารถนำ SD การ์ดออกจาก CU และประมวลผลบนเครื่อง PC เพื่อใช้
ในการถอดความได้ ทั้งยังสามารถเรียกการบันทึกเสียงได้โดยเชื่อมต่อPC เข้ากับ USB ของ CU สามารถเล่นการบันทึกเสียงไปยังลำโพงมอนิเตอร์หรือลำโพงของผู้ร่วมประชุมได้ เสียงบี๊ปที่ได้ยินและ LEDกะพริบช่วยเตือนให้ทราบว่า SD การ์ดใกล้จะเต็มและผู้ใช้จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการ์ดใหม่

          โปรเจกเตอร์ (Interactive Projector) คือโปรเจคเตอร์ซึ่งได้รวมเอาคุณสมบัติของ Interactive Whiteboard เข้ามาไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคเตอร์ ในระบบ Interactive Whiteboard แบบเดิมนั้นจะต้องใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ กระดานอินเตอร์แอ็คทีฟไวท์บอร์ดและเครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันเพื่อทำให้เกิดระบบ Interactive ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบการเรียนการสอนและในระบบธุรกิจ ปัจจุบันได้มีโปรเจคเตอร์ชนิดใหม่เกิดขึ้นซึ่งเรียกว่า Interactive Projector โปรเจคเตอร์ชนิดนี้มีความสามารถซึ่งกระดานอินเตอร์แอ็คทีฟมีและอาจมีมากกว่าด้วย ตัวเครื่องโปรเจคเตอร์มีลักษณะเช่นเดียวกับโปรเจคเตอร์ Short-Throw หรือ Ultra Short-Throw ทั่วๆไปและมีอุปกรณ์สำหรับใช้แทนเมาส์ (Electronic Pen หรือ Wand Tool) มาให้ด้วย เช่นเดียวกันกับ Interactive Whiteboard โปรเจคเตอร์ชนิด Interactive Projector สามารถเก็บบันทำข้อความตัวอักษรหรือสิ่งที่ได้วาดและเขียนลงบนจอภาพเอาไว้ได้ทำให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปพิมพ์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำได้โดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเขียนหรือวาดลงบนจอภาพทั้งที่ผิวหน้าจอและระยะไกลจากจอภาพ
ภาพที่ 2.4 แสดงเครื่องโปรเจกเตอร์ ( Interactive Projector )

ระบบไฟ LED  (Light Emitting Diode) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จำพวกสารกึ่งตัวนำ ที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้เมื่อเราจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าที่ตัวมัน โดยปกติหลอดชนิดนี้สามารถเปล่งแสงได้ เมื่อจ่ายแรงดันไฟตรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสง ก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กๆ
หลอด LED สามารถให้แสงได้หลายๆความยาวคลื่น เช่นสามารถให้แสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน แสงสีเขียว แสงสีขาว ฯลฯ และในปัจจุบัน เมื่อเทคโนโลยีในการผลิตหลอดไฟ LED ได้สูงมากขึ้น จนสามารถผลิตแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ครบจำนวน 3 สี จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้นมา เช่นจอภาพที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการผสมสี 3 สีของหลอด LED
ภาพที่ 2.5 แสดงระบบไฟแบบ LED 

 2.4.3 โครงสร้างชนิดพิเศษ (Special Structure)
          โครงถัก (Truss) โครงสร้างแบบระนาบโครงถัก (Plane Truss) เป็นโครงสร้างที่พบเห็นได้ทั่วไปในโครงสร้างที่มีช่วงพาดยาว เช่น สะพาน หลังคาโรงงาน เป็นต้น โครงสร้างประเภทนี้ จะประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อยเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยจุดยึดหมุนได้ (Hinges) ให้มีลักษณะเป็นรูปร่างแบบโครงสามเหลี่ยม (Triangulated Patterns) ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะรับเพียงแรงตามแนวแกนและแรงจะมีขนาดคงที่ตลอดความยาวของชิ้นส่วนนั้น ๆ จุดรองรับของโครงสร้างจะเป็นแบบหมุนได้ (Hinges) หรือไม่ก็แบบเลื่อนได้ (Roller) แม้ว่าในการก่อสร้างจริง จุดเชื่อมต่อของชิ้นส่วนมักจะทำให้ยึดแน่นโดยวิธีการเชื่อม อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์จะคิดให้มีลักษณะเป็นจุดต่อหมุนได้ โดยความคลาดเคลื่อนที่เกิดนั้นมีเพียงเล็กน้อยจนสามารถละเลยได้ สำหรับโครงถัก 3 มิติ (Space Truss) เมื่อมีแรงกระทำ ชิ้นส่วนอาจเคลื่อนออกในทุก ๆ ทิศทาง

ภาพที่ 2.6 แสดงโครงสร้างแบบพิเศษที่นำมาใช้ในโครงการ
















No comments:

Post a Comment