บทที่ 5


บทที่ 5
สรุปโครงการ

           ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง การจัดทำโครงการ (Programming Stage) กับขั้นตอนการออกแบบ( Design Stage ) ซึ่งเป็นการสรุปเนื้อหา และวิเคราะห์ เพื่อเริ่มต้นการออกแบบสิ่งที่นำเสนอ เป็นการสรุปข้อมูลเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของโครงการทั้งหมด ทั้งพื้นที่ใช้สอยโครงการ และที่ตั้งโครงการ และการนำข้อมูลทุกด้านมาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการออกแบบ และนำไปออกแบบขั้นต้น การสรุปโครงการคือ การสรุปประเด็นปัญหาเพื่อการออกแบบ คือโจทย์ที่ให้สถาปนิกค้นหาในขั้นตอนการออกแบบ โดยจะต้องสอดคล้องกับแนวความคิดในการออกแบบ และไม่ทำให้เกิดการหลงประเด็นในการออกแบบ โดยจะต้องสอดคล้องกับแนวความคิดโครงการ เป้าหมายโครงการ และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายโดยการพิจารณา ในส่วนของบทสรุปของโครงการจะมีหัวข้อในการพิจารณาดังนี้
1. สรุปภาพรวมโครงการ ( Project Summary )
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พื้นที่อาคารและที่ตั้งอาคาร (Site Related to Area Analysis)
3. โจทย์เพื่อการออกแบบ ( Design Problems )
4. การออกแบบทางเลือก ( Schematic Design )

5.1 สรุปภาพรวมโครงการ ( Project Summary )
            การสรุปภาพรวมของโครงการเป็นการนำเสนอรายละเอียดโครงการโดยสรุป เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถนำไปใช้ในการออกแบบเบื้องต้นได้ และเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเฉพาะส่วนออกแบบได้รับข้อมูลโดยสั้นๆในส่วนนี้ โดยรายละเอียดในส่วนนี้ได้แก่ พื้นที่ใช้สอยโครงการความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอยในโครงการ รายละเอียดที่ตั้งโครงการ และงบประมาณการลงทุน

5.1.1 พื้นที่โครงการ ( Area Requirement )
การสรุปพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่สนับสนุนต่างๆ ของโครงการ แยกตามองค์ประกอบหลักของโครงการ โดยองค์ประกอบหลักๆของโครงการแบ่งได้ 3 ส่วนคือ ส่วนการศึกษา ส่วนกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ และส่วนบริการ โดยสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ เป็นดังนี้

   ตารางที่ 5.1 แสดงพื้นที่ขององค์ประกอบส่วนต่างๆของโครงการ         แผนภูมิที่ 5.1 แสดงอัตราส่วนพื้นที่ขององค์ประกอบส่วนต่างๆของโครงการ



5.1.2 ความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอย (Functional Relationship)    

แผนภาพที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ใช้สอยย่อยๆ


5.1.3 ที่ตั้งโครงการ (Site Location)


ภาพที่ 5.1 แสดงแผนที่ประเทศไทย

ที่ตั้งระดับภาค
           จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ในเขตปริมณฑล เป็นจังหวัดที่มีการขยับขยายในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย และธุรกิจ แต่ยังมีความสงบ และมลภาวะที่น้อยกว่าในกรุงเทพมหานคร  มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ครบครัน


 ภาพที่ 5.2 แสดงตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

ที่ตั้งโครงการ
            ตั้งอยู่ที่ตำบล คลองพระอุดม อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 

ภาพที่ 5.3 แสดงที่ตั้งโครงการ และขนาดของพื้นที่

ขนาดของที่ตั้งโครงการ มีพื้นที่ 22,582 ตารางเมตร หรือประมาณ 14 ไร่ มีลักษณะรูปร่างคล้าย 3 เหลี่ยม แต่ที่จริงแล้วมีลักษณะเป็น 5 เหลี่ยมด้านไม่เท่า

5.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่อาคาร และที่ตั้งโครงการ (Site Related to Area Analysis)
         บทสรุปในส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่อาคาร เป็นการวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย และที่ตั้งโครงการ ตามที่กำหนดมาว่ามีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่น หรือเบาบางจนเกินไป รวมไปถึงวิเคราะห์ถึงกฎหมาย หรือข้อบังคับของท้องถิ่นที่ตั้งนั้น ที่อาจจะกระทบต่อการออกแบบต่อไป

5.2.1 สัดส่วนพื้นที่ที่ตั้งโครงการ ต่อพื้นที่อาคาร (Floor Area Ratio)
            สัดส่วนนี้คิดได้จากสัดส่วนของพื้นที่ที่ตั้งโครงการ ต่อพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดของโครงการ (Site Area : Total Construction Area) มีไว้เพื่อตรวจสอบว่าสัดส่วนนี้ตรงตามที่ได้คาดไว้ในเป้าหมายหรือไม่
            พื้นที่อาคารทั้งหมด                                 12,850 ตารางเมตร
            พื้นที่ที่ตั้งโครงการ                                   22,582 ตารางมตร
ความหนาแน่นของโครงการ คิดเป็น
                                                Site Area          :           Total Construction Area
                                                22,582             :           12,850
            ดังนั้น FAR โครงการเป็น 1                       :           0.57
            เมื่อนำมาตรวจสอบความเหมาะสมของสัดส่วนอาคารแล้ว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

5.2.2 สัดส่วนพื้นที่ที่ถูกอาคารปกคลุม (Ground Coverage Area) กับที่ว่างภายนอกโครงการ (Open Space)
          วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ก่อสร้างต่อชั้น (Floor Area) มีขนาดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ของที่ตั้ง (Site Area) และถ้าออกแบบอาคารให้มีจำนวนชั้นตามที่กำหนดไว้ การกำหนดขนาดทั้งโครงการแล้วหาพื้นที่เฉลี่ยต่อชั้น (Average Floor Area) จะมีที่ว่าง (Open Space) เพียงพอตามกฎหมายหรือไม่ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบจาก
            ที่ว่างตามกฎหมาย (Open Space by Law)
กฎหมายเรื่องพื้นที่ว่าง และพื้นที่ปกคลุมอาคาร (Open Space by Law)
            โครงการสถานศึกษา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตั้งของโครงการ ไม่มีกฎหมายใดๆบัญญัติไว้ว่าจะต้องมี Open Space เท่าไร เพราะฉะนั้น จึงยึดเอากฎหมาย พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  ซึ่งบัญญัติไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่เปิดโล่ง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ที่ดินทั้งหมด
            พื้นที่โครงการทั้งหมด (Site Area)                                     100% = 22,582 ตร.ม.
            พื้นที่ว่างปราศจากหลังคาปกคลุม (Open Space)              30% = (22,582x30)÷100
            ดังนั้น พื้นที่ว่างตามกฎหมาย                                            30% = 6,774.6 ตร.ม.

5.3 โจทย์เพื่อการออกแบบ ( Design Problem )
            การจัดวางอาคารลงบนที่ตั้ง ที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ และรูปร่างของที่ตั้ง ซึ่งเป็นรูปร่าง 5 เหลี่ยมด้านไม่เท่า มีลักษณะแหลมตรงทิศตะวันตก ซึ่งค่อนข้างมีผลต่อการออกแบบผังบริเวณเป็นอย่างมาก
5.4 การออกแบบแบบร่าง ( Schematic Design )
            เพื่อผลการออกแบบที่มีเหตุผล และขั้นตอนที่เที่ยงตรง ตามกระบวนการการออกแบบ ( Design Process ) การจัดทำรายละเอียดโครงการ ( Programming ) อาจมีการออกแบบทางเลือกพร้อมกันการพัฒนาโปรแกรม ( Program Development ) ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลบางอย่างเป็นผลย้อนกลับ ( Feed Back ) สำหรับการพัฒนา
5.4.1 การวางผังบริเวณ ( Zoning Layout )
การออกแบบแนวทางการจัดวางผัง เป็นการพัฒนาการจัดวาง Zoning ลงภายในที่ตั้งโครงการ โดยตอบรับกับสัดส่วนของแต่ละพื้นที่ใช้สอยของแต่ละองค์ประกอบ โดยอ้างอิงถึงการวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ ในหัวข้อต่างๆในข้างต้น ดังนั้นการออกแบบ Zoning ในขั้นตอนสุดท้าย จะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ที่จะนำไปใช้ในการออกแบบในขั้นตอนการออกแบบทางเลือก ( Schematic Design ) โดยรายละเอียดของการจัดวางผัง  มีดังนี้
ภาพที่ 5.4 แสดงการวางผัง Zoning ของโครงการ

ภาพที่ 5.5 แสดงการวางผัง Zoning ของโครงการ

การจัดวาง Zoning ของโครงการ จะมีทางเข้าหลัก 2 ทาง คือ 1. ทางเข้าหลัก สำหรับผู้ปกครองที่มาส่งบุตรหลาน 2. ทางเข้าสำหรับพนักงานและครู เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงงานบริการ และที่จอดรถ
            การจัดวาง Zoning นั้น จะเน้นลำดับจากทางเข้าหลัก โดยจะวางส่วนบริหาร และส่วน Pre-Prep เป็นลำดับแรกเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของเด็กเล็ก ส่วนต่อไปเป็นส่วนของ Prep, Secondary และส่วน Facilities เพื่อมุ่งเน้นกิจกรรมที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น โดยวางส่วน Facilities ไว้ไม่ใกล้ และไม่ไกลตึกเรียนทั้งสอง สุดท้ายคือส่วนกีฬาในร่ม สนามฟุตบอล และส่วน Service ซึ่งที่เห็นว่าวางไว้ค่อนข้างไกลจากตึกเรียนนั้น เนื่องจากการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมระหว่างเรียนจะมีเสียงดัง หรือจะเป็นการซ่อมแซมงานระบบอาคาร อาจรบกวนเด็กที่กำลังเรียนอยู่ได้
            ข้อดี
-          วางส่วน Service ไว้ด้านในสุด ไม่เป็นปัญหาทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และทางด้านเสียง
-          มีทางเข้า 2 ทางสำหรับพนักงาน และผู้ปกครองอย่างชัดเจน
-          วางส่วนบริหารไว้ใกล้กับส่วนเด็กเล็ก เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน
-          ส่วน Prep และ Secondary อยู่ใกล้กัน เพิ่มกิจกรรมร่วมกันของรุ่นพี่ และรุ่นน้อง
-          มี Open Space ที่เพียงพอสำหรับกิจกรรมของเด็กนักเรียน

ข้อเสีย
-          ทางด้านที่ติดถนนใหญ่ อาจมีเสียงรบกวนจากยานพาหนะที่มีเสียงดัง
-          การเข้าถึงของส่วนกีฬาในร่มอาจจะไกลสำหรับเด็กเล็ก
-          ถ้าหากว่ามีงานประจำปี หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นในส่วนของ Facilities โดยมีการเชิญผู้ปกครองเข้าร่วม อาจจะมีระยะทางค่อนข้างไกลจากที่จอดรถ

5.4.2การออกแบบแบบร่าง ( Schematic Design )
            การออกแบบแบบร่าง เป็นการออกแบบโดยการนำผังบริเวณที่ได้ทำไว้ มาใช้ในการออกแบบแบบร่าง โดยมีพื้นที่ใกล้เคียงกันตามมาตราส่วน และแก้ไขปัญหาในการออกแบบ โดยพิจารณาทั้งในส่วนของระนาบ    ( Plan ) รูปร่าง (Shape ) ที่ว่าง ( Space ) และแนวคิดในการออกแบบ ( Design Concept ) หลังพิจารณาข้อดีข้อเสียของแบบร่าง จะนำไปพัฒนาแบบร่าง ( Design Development ) ในรายละเอียดด้านพื้นที่ใช้สอย ด้านขนาดพื้นที่ ด้านรูปแบบอาคาร งานระบบ และด้านอื่นๆต่อไป โดยรายละเอียดของแบบร่าง มีดังนี้
ภาพที่ 5.6 แสดงแบบร่างผังชั้นที่ 1

ออกแบบให้ Circulation ดูลื่นไหลผ่านไปตาม Space ต่างๆของแต่ละอาคาร อาคาร Pre-Prep, Prep และ Secondary มี Space กึ่งกลางของแต่ละอาคาร เพื่อส่งเสริมกิจกรรมของเด็กนักเรียน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มร่มเงาให้กับอาคาร
ภาพที่ 5.7 แสดงแบบร่างผังชั้นที่ 2

ออกแบบให้ทั้ง 5 อาคารเชื่อมต่อกันด้วยพื้นของชั้นที่ 2 เพิ่มความสะดวกในการสัญจรไปยัง Function ต่างๆ ของทั้งนักเรียน และครู
ภาพที่ 5.8  แสดงแบบร่างผังชั้นที่  3





No comments:

Post a Comment