บทที่ 3



บทที่ 3
แนวความคิดโครงการ
                แนวความคิดโครงการคือ การเสนอความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆภายในโครงการ โดยเน้นถึงเหตุผล และความสำคัญที่ได้มาจากข้อเท็จจริง เป็นเครื่องมือช่วยนำทางของทุกขั้นตอนในกระบวนการออกแบบ รวบรวมเรื่องทั้งหมดของโครงการ และกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะส่วนเล็กๆ ของโครงการ เช่นองค์ประกอบโครงการ ระบบอาคาร และรูปทรงอาคาร เป็นต้น การศึกษาแนวความคิดโครงการเป็นการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ จากอาคารประเภทเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำมากำหนดแนวความคิดที่ตอบสนองต่อความต้องการของโครงการ โดยเน้นถึงเหตุผลและความสำคัญที่ได้ จากข้อเท็จจริง โดยโครงการบางกอกเพรพ แบ่งออกได้ เป็น 4 ด้านดังนี้
1.      ด้านหน้าที่ใช้สอย
2.      ด้านรูปแบบ
3.      ด้านเศรษฐศาสตร์
4.      ด้านเทคโนโลยี

3.1 แนวความคิดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย
                การกำหนดแนวความคิดด้านนี้ ควรจะพิจารณาทีละส่วนขององค์ประกอบโครงการแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่ใช้สอยในบทต่อไป ซึ่งมีการเรียงลำดับตามองค์ประกอบของโครงการดังนี้

1.      ส่วนอำนวยการ
2.      ส่วน Pre-Preparatory
3.      ส่วน Preparatory
4.      ส่วน Secondary
5.      ส่วน Canteen & Multifunctional
6.      Indoor Sports Complex + Service
7.      Parking
แผนภาพที่ 3.1 แสดงแผนผังความสัมพันธ์ ภาพรวมโครงการ 
1.1               ส่วนอำนวยการ
เป็นส่วนที่รวมห้องอำนวยการประเภทต่างอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน เรื่องงานบริหาร งานธุรการ ฯลฯ รวมถึงร้านค้าของโรงเรียน และห้องสมุด ซึ่งอยู่ที่ชั้น 2 อีกด้วย
1.2               ส่วน Pre-Preparatory
คือส่วนการศึกษาเล่าเรียนของเด็กเล็ก แบ่งเป็น 3 ชั้นเรียน คือ 1.Nursery จะมีเด็กอายุ 2-3 ปี และ 2-3 คือ Kindergarten 2 และ 3 ซึ่งมีเด็กอายุตั้งแต่ 3-5 ปี โดยอาคารเรียนนี้จะแบ่งประเภทพื้นที่ใช้สอยได้ดังนี้

1.2.1        ห้องเรียน เป็นส่วนที่มีการศึกษาเล่าเรียน ทำกิจกรรม และยังเป็นที่นอนกลางวันของเด็กนักเรียน Pre-Preparatory ทั้งหมด โดยจะมีทั้งหมด 3 ห้อง แบ่งเป็นชั้นละ 1 ห้อง

1.2.2        ห้องรับประทานอาหาร เนื่องจากเด็กเล็ก จะไม่สามารถรับประทานอาหารรวมกับเด็กโตได้ เนื่องด้วยขนาดโต๊ะ ที่มีความแตกต่างกันพอสมควร และเด็กเล็ก จะต้องถูกดูแลอย่างใกล้ชิดโดยพี่เลี้ยง หรือครูผู้สอน

1.2.3        ห้องพักครู เรียกได้ว่าเป็นห้องทำงานของครูผู้สอนแต่ละวิชา เป็นที่ๆครูเก็บเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็ตาม เป็นที่ทำงานของครูทุกคน และยังรวมส่วนการปฐมพยาบาลเบื้อต้นในกรณีที่นักเรียนเด็กเล็กเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

1.2.4        ห้องทำกิจกรรม เป็นห้องสำหรับทำกิจกรรมที่พิเศษกว่าในห้องเรียน กิจกรรมที่จะต้องใช้พื้นที่ใช้สอยมากกว่าในห้องเรียน ห้องจะมีลักษณะโล่งๆ เพื่อการเรียนการสอนแบบพิเศษ และทำกิจกรรมของเด็กเล็ก

1.3                           ส่วน Preparatory
หรือส่วนของเด็กกึ่งโต คือส่วนการศึกษาของเด็กอายุประมาณ 5-11 ปี แบ่งได้เป็น 6 ชั้นเรียน โดยจะแยกส่วนย่อยต่างๆได้ดังนี้

1.3.1   ห้องเรียน เป็นส่วนที่มีการศึกษาเล่าเรียน และทำกิจกรรมของเด็กนักเรียน Preparatory ทั้งหมด โดยมีทั้งหมด 12 ห้อง ห้องละ 22-25 คน แบ่งเป็นชั้นละ 2 ห้อง

1.3.2   ห้องเรียนแบบพิเศษ เป็นส่วนที่มีการเรียนการสอนในวิชาที่เน้นไปทางกิจกรรม หรือว่าวิชาที่ต้องการเครื่องมือการเรียนการสอนมากกว่าปกติ เช่น ห้องเรียนศิลปะ จะมีพื้นที่กว้างขวางมากกว่าปกติ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ก็จะมีเครื่องมือในการเรียนการสอนมากกว่าปกติ เป็นต้น

1.3.3   ห้องพยาบาล เป็นส่วนที่มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเด็กนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุ หรือว่ามีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดี มีเตียงสำหรับการนอนพักผ่อน สำหรับเด็กนักเรียนที่พยาบาลเห็นสมควรว่าควรพักผ่อน

1.3.4   ห้องพักครู เรียกได้ว่าเป็นห้องทำงานของครูผู้สอนแต่ละวิชา เป็นที่ที่ครูเก็บเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็ตาม เป็นที่ทำงานของครูทุกคน และยังรวมส่วนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่นักเรียนเด็กเล็ก

            1.4      ส่วน Secondary
          หรือส่วนของเด็กโต ซึ่งจะมีอายุมากที่สุดของโรงเรียน มีอายุตั้งแต่ 11-18 ปี แบ่งได้เป็น 7 ชั้นเรียน โดยส่วนย่อยต่างๆ จะเหมือนกับส่วน Preparatory ทั้งหมด แต่จะมีที่ว่างที่เด็กนักเรียนสามารถทำกิจกรรมได้สะดวกกว่าเนื่องจากเด็กมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น และกิจกรรมที่ต้องการที่ว่างมากขึ้น เป็นต้น

          1.5      ส่วนโรงอาหาร และห้องอเนกประสงค์
          คือส่วนที่ครู และเด็กนักเรียนระดับ Preparatory และ Secondaryใช้รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น งานประจำปี หรืองานประจำชาติของชาติต่างๆ เป็นต้น แยกเป็นส่วนย่อยต่างๆได้ดังนี้

1.5.1 โรงอาหาร คือที่ที่ครู และเด็กนักเรียนระดับ Preparatory และ Secondary ใช้รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นที่เปิดโล่งใต้อาคารขนาดใหญ่ มีครัวอยู่ทางด้านทิศเหนือ เด็กนักเรียนทุกคนรับจานของตนเอง และเดินเรียงแถวกันรับอาหารจากเจ้าหน้าที่ และกลับมานั่งทานที่โต๊ะอาหาร โดยไม่มีการกำหนดที่นั่งแต่อย่างใด เด็กนักเรียนสามารถเลือกนั่งที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ
1.5.2 ห้องอเนกประสงค์ คือห้องที่สามารถจัดงานขนาดใหญ่ของโรงเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงต่างๆ  ละครเวที คอนเสิร์ต เป็นต้น

1.5.3 Backstage คือส่วนที่มีไว้สำหรับเตรียมการแสดงบนเวทีของห้องอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นห้องแต่งตัว ห้องน้ำนักแสดง ห้องเก็บของ เป็นต้น

            1.6      ส่วนกีฬาในร่ม
          คือส่วนที่เด็กนักเรียนทุกชั้นปี มีการเรียนการสอนในเรื่องของกีฬา และกิจกรรมต่างๆ และเวลาว่าง เด็กนักเรียนระดับ Preparatory และ Secondary สามารถใช้งานได้ โดยแยกเป็นส่วนย่อยต่างๆได้ดังนี้

1.6.1 สนามบาสเกตบอลในร่ม เป็นสนามบาสเกตบอลมาตรฐาน สำหรับนักกีฬาบาสเกตบอล ทีมละ 7 คน มีระยะความสูงที่เพียงพอสำหรับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล




1.6.2 ห้องปิงปอง เนื่องจากปิงปองเป็นกีฬาที่ค่อนข้างนิยมในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่แล้ว โต๊ะปิงปองของแต่ละสถานศึกษาจะไม่ได้มาตรฐานเท่าไร เนื่องจากมักจะถูกตั้งไว้กลางลาน ซึ่งจะมีลมแรง และยังร้อนอีกด้วย ห้องปิงปองนี้จะเป็นห้องปิดอย่างดี มีการปรับอากาศที่จะไม่ทำให้ลูกปิงปองถูกลมพัดปลิวได้ มีขนาดกว้างขวาง เพียงพอสำหรับการฝึกฝีมือได้
1.6.3 ห้อง Dance & Drama Studio คือห้องที่จะมีการเรียนการสอนในเรื่องของการเต้น และการแสดง จะเป็นกิจกรรมหลังเลิกเรียนทั้งหมด การเต้นและการแสดงนั้น จะทำให้นักเรียนมีความมั่นใจ และความกล้าแสดงออกมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถเป็นคนที่โดดเด่นในสังคมได้

1.6.4 ห้องออกกำลังกาย เป็นห้องที่มีการรวบรวมเครื่องออกกำลังกายเอาไว้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของนักเรียน จะอนุญาตให้เฉพาะเด็กโตเข้าเล่น

1.6.5 สระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำขนาด 12.5 x 25 เมตร มีความมาตรฐานของสระว่ายน้ำในสถานศึกษา

1.6.6 ส่วนบริหาร คือส่วนที่ควบคุม และการจัดการต่างๆของส่วนกีฬาในร่ม ไม่ว่าจะเป็นการจัดคิว การเข้าใช้ห้อง อีกทั้งยังเป็นห้องของครูที่สอนกีฬาประเภทต่างๆด้วย

1.7 ส่วนงานระบบของอาคาร
          คือส่วนที่รวมงานระบบหลักประเภทต่างๆไว้ให้เป็นสัดเป็นส่วน ง่ายต่อการบำรุงซ่อมแซม โดยงานระบบต่างๆแบ่งได้คร่าวๆคือ ระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าสำรอง ระบบประปา ระบบสื่อสารคมนาคม เป็นต้น


3.2 แนวความคิดโครงการด้านรูปแบบ
แนวความคิดโครงการด้านรูปแบบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- แนวความคิดในการเลือกที่ตั้งโครงการ
- แนวความคิดด้านจินตภาพ

3.2.1 แนวความคิดในการเลือกที่ตั้งโครงการ
การเลือกที่ตั้งของโครงการนั้น ควรจะมีความเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพของพื้นที่ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ทางการตลาด โดยในบทที่ 1 ได้มีการกำหนดทำเลที่ตั้งโครงการไว้แล้ว บทนี้จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ
หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ตั้งของโครงการที่เหมาะสมที่สุดจากที่ตั้ง 3 แห่ง โดยใช้หลักเกณฑ์การให้คะแนนเป็นหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ โดยมีผลรวมของระดับค่าคะแนน เท่ากับ 25 คะแนน โดยแสดงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ มีหลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ ดังต่อไปนี้

1.      ผู้ใช้งานอาคาร ควรจะต้องศึกษาแนวโน้มของผู้ใช้งานอาคารมากที่สุด เพราะโรงเรียนนานาชาติจะค่อนข้างมีกลุ่มผู้ใช้อาคารเฉพาะกลุ่ม
2.      การเข้าถึง เพราะว่าโรงเรียนคือที่ที่จะมีความจอแจในช่วงเวลาเร่งด่วน จึงต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึง และดูแนวโน้มการเดินทางไปยังโครงการที่ง่ายขึ้นในอนาคตด้วย
3.      เสียงรบกวน คือสิ่งสำคัญมากในอาคารสถานศึกษา เพราะถ้าหากว่าอาคารมีเสียงรบกวนมากตลอดเวลา ก็จะทำให้เด็กนักเรียนไม่มีสมาธิ
4.      โอกาส แนวโน้มของการขาย ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งเป็นอย่างมาก อีกทั้งคู่แข่งในละแวกใกล้ๆด้วย
5.      บริบท จะเป็นสิ่งที่สำคัญรองลงมา เนื่องจากกิจกรรมหลักของโครงการคือการศึกษา บริบทจะส่งผลต่อผู้ปกครองเสียส่วนใหญ่
6.      ราคาที่ดิน จะเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในด้านการลงทุน
7.      การจราจร ความแน่นหนาของการจราจรในบริเวณรอบๆโครงการ
8.      ทัศนียภาพ มีความสำคัญไม่มาก เพราะสถานศึกษา ไม่ใช่โครงการที่จะต้องเน้นในเรื่องของทัศนียภาพเท่าไรนัก
ตารางที่ 3.1 แสดงค่าน้ำหนักในการเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการ
3.2.2 แนวความคิดด้านจินตภาพ
แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพ คือ แนวความคิดโครงการที่แสดงออกถึงลักษณะ หรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยส่งผลถึงกลุ่มผู้ใช้โครงการ กิจกรรม และสภาพที่ตั้งโครงการเป็นสำคัญ เป็นแนวทางการออกแบบจินตภาพของโครงการต่อไป โดยเน้นถึงตัวสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆของโครงการ ซึ่งจะส่งผลทางกายภาพและจิตวิทยาแก่ผู้ใช้โครงการเป็นอย่างมาก

3.3 แนวความคิดโครงการด้านเศรษฐศาสตร์
การกำหนดแนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์มีหลายประเด็นแต่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโปรแกรมทาง
สถาปัตยกรรม โดยหัวข้อที่พิจารณา สามารถแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง ดังนี้

3.3.1 การควบคุมงบประมาณโครงการ
          ประสิทธิภาพโครงการ ประกอบด้วย
- พื้นที่ใช้งานสุทธิ (Assignable Area) คือพื้นที่รวมของทุกๆพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการตามโปรแกรม
- พื้นที่สนับสนุน (Unassigned Area) คือพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่ใช้งานโดยเฉพาะพื้นที่ทางสัญจร ห้องเครื่อง ห้องน้ำส่วนรวม ห้องเก็บของผนังกั้นต่างๆ โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถซึ่งแตกต่างไปตามกฎหมายของแต่ละท้องที่ และพื้นที่ใช้งานภายนอก (Outdoor Space ) เพราะถือเป็นพื้นที่ใช้งาน แต่อยู่ภายนอกอาคาร
- สัดส่วนประสิทธิภาพของอาคาร (Efficiency Ratio) คือสัดส่วนร้อยละของ พื้นที่สนับสนุนต่อพื้นที่ใช้งานสุทธิ มีระดับโดยทั่วไปอยู่ 3 ระดับ คือ
1.ระดับดีมาก อัตราส่วน 40 – 50 % ของพื้นที่ทั้งหมด
2.ระดับปานกลาง อัตราส่วน 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด
3.ระดับประหยัด อัตราส่วน 20 % ของพื้นที่ทั้งหมด


โครงการบางกอกเพรพ ซึ่งเป็นโครงการสถานศึกษา สัดส่วนประสิทธิภาพอาคาร ควรจะอยู่ในระดับดีมาก เพราะขึ้นอยู่กับหลายๆเรื่องเช่น การรองรับผู้ใช้งานอาคารพร้อมกันมากๆ ในจังหวะเร่งรีบ เช่นช่วงทานข้าว หรือเลิกเรียน เป็นต้น สามารถแบ่งสัดส่วนประสิทธิภาพของอาคารตามองค์ประกอบต่างๆ ภายในโครงการได้ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 3.2 แสดงสัดส่วนประสิทธิภาพอาคารตามองค์ประกอบโครงการ
3.3.2 การควบคุมคุณภาพโครงการ
          เป็นการกำหนดคุณภาพอาคารของโครงการ โดยใช้ราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรเป็นตัวกำหนด เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างสามารถกำหนด หรือบอกถึงคุณภาพของโครงการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 3.3 แสดงคุณภาพในองค์ประกอบต่างๆของโครงการ

3.4 แนวความคิดโครงการด้านเทคโนโลยี
โดยรายละเอียดแนวความคิดโครงการทางด้านเทคโนโลยีอาคารมี 2 ส่วนดังนี้
3.4.1 ระบบอาคาร (Building System)
3.4.2 ระบบเทคโนโลยีพิเศษ (Specific Technology)

3.4.1 ระบบประกอบอาคาร (Building System)
          โครงการบางกอกเพรพเป็นโครงการที่มีองค์ประกอบของโครงการหลายส่วน การเลือกใช้ระบบโครงสร้างจะต้องมีความเหมาะสมกับส่วนต่างๆของโครงการ โดยจำแนกได้ดังนี้
            ระบบโครงสร้าง
- ระบบโครงสร้าง เสา-คาน
- ระบบโครงสร้าง Post-Tensioned
- ระบบหลังคา
            ระบบปรับอากาศ
- แบบ Water Cooled Chiller System
- แบบ Split Type
            ระบบสุขาภิบาล
- ระบบน้ำดี
-ระบบน้ำเสีย
ระบบไฟฟ้า
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง
- Main Distribution Board
- ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบดีเซล (Generator)
- ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบแบตเตอร์รี่ ( ไฟนำทาง )
            ระบบแสงสว่าง
- แสงประดิษฐ์
- แสงธรรมชาติ
            ระบบสื่อสารคมนาคม
- ระบบโทรศัพท์
- ระบบอินเตอร์เน็ตแบบมีสาย
- ระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย


             ระบบป้องกันอัคคีภัย
- Heat/Smoke Detector
- Sprinkler System








No comments:

Post a Comment